ประวัติ ของ การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศอิสราเอล

ในช่วงเริ่มต้นของโครงการ อิสราเอลได้ให้ข้อมูลทางการแพทย์เกี่ยวกับพลเมืองของตนแก่บริษัทไฟเซอร์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงกับบริษัทในการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 สำหรับประเทศ[8]

การรณรงค์ฉีดวัคซีนเบื้องต้นมุ่งเน้นไปที่ผู้สูงอายุ (ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี) และกลุ่มผู้ป่วยอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเจ็บป่วยที่รุนแรงหากเกิดกรณีการติดเชื้อ เช่น ผู้ที่มีโรคประจำตัว ตลอดจนเจ้าหน้าที่ในภาคส่วนบริการสุขภาพ[5][9] หลังจากแปดสัปดาห์ เจ้าหน้าที่การแพทย์เกือบ 85% ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเยรูซาเล็ม (ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยฮาดัสซาห์ฮีบรู) ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว[10]

อิสราเอลเริ่มรณรงค์เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2563 โดยนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู เป็นบุคคลแรกในประเทศที่ได้รับวัคซีน โดยมีการถ่ายทอดสดการฉีดวัคซีนทางโทรทัศน์เพื่อสนับสนุนให้ชาวอิสราเอลคนอื่น ๆ เข้ารับวัคซีน[11] ภายในเวลาไม่ถึงสองสัปดาห์ ชาวอิสราเอลมากกว่า 10% ได้รับวัคซีนโดสแรก[12]

การฉีดวัคซีนประชากรจำนวนมากในอิสราเอลได้แสดงหลักฐานว่าวัคซีนไฟเซอร์หยุดยั้งการแพร่เชื้อไวรัส รวมถึงการติดเชื้อที่ไม่มีอาการ[13][14][15] โครงการฉีดวัคซีนยังช่วยควบคุมอัตราการเสียชีวิตในประเทศอีกด้วย[12]

เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ชาวอิสราเอลอายุเกิน 60 ปีอย่างน้อย 90% ได้รับวัคซีนไฟเซอร์อย่างน้อยหนึ่งโดส และจำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันในประเทศลดลง 41% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า[13] ภายในปลายเดือนกุมภาพันธ์ ชาวอิสราเอลอย่างน้อย 4.8 ล้านคนได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งโดส[16][17] การฉีดวัคซีนจำนวนมากนี้ทำให้ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงลดลง[9][18] อิสราเอลผ่านกฎหมายที่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ของรัฐระบุและติดต่อผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน เพื่อโน้มน้าวให้พวกเขาเข้ารับวัคซีน[6]

ในการผ่านเข้าสถานที่บางแห่ง เช่น สนามกีฬาในร่ม โรงแรม และโรงละคร ประชาชนที่ได้รับวัคซีนแล้วต้องแสดง"บัตรผ่านสีเขียว" (ฮีบรู: דרכון ירוק‎, อักษรโรมัน: darkon yarok ) หรือที่เรียกว่า "ป้ายสีเขียว" (ฮีบรู: תו הירוק‎, อักษรโรมัน: tav yeruka ) ซึ่งได้รับการประกาศใช้อย่างเป็นทางการโดยกระทรวงสาธารณสุขของอิสราเอลเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[19][20] บัตรผ่านสีเขียวแสดงว่าผู้ถือบัตรมีภูมิคุ้มกันจากโควิด-19 แล้ว ไม่ว่าจะจากการได้รับวัคซีนหรือจากการติดเชื้อก่อนหน้านั้น[21][22][23] ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ทั้งสองโดสจะมีสิทธิ์ได้รับใบรับรองการฉีดวัคซีนนี้ ซึ่งจะมีอายุใช้งานหกเดือน[23][24]

ณ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 อิสราเอลมีผู้ที่ได้รับวัคซีนต่อหัวประชากรสูงที่สุดในโลก[12] ประมาณ 60% ของผู้อยู่อาศัยในอิสราเอลได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างน้อยหนึ่งโดสภายในเดือนมีนาคม และสถานที่สาธารณะบางแห่งได้เปิดใช้บริการอีกครั้งสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้ว[23][25][26] เวลานั้นมีเพียง 100,000 คนที่อายุเกิน 50 ปีที่ยังคงไม่ได้รับการฉีดวัคซีน[27] ภายในเดือนมีนาคม อย่างน้อย 50% ของประชากรอิสราเอลได้รับวัคซีนไฟเซอร์ทั้งสองโดสแล้ว[22][23][28]

ความสำเร็จของโปรแกรมการฉีดวัคซีนของอิสราเอลได้รับการให้เครดิตกับระบบส่วนกลางที่จัดการโดยองค์กรหลักประกันสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลของชาวอิสราเอล พวกเขาสามารถประสานงานการขับเคลื่อนการฉีดวัคซีนแห่งชาติ โดยเข้าถึงผู้อยู่อาศัยโดยตรงโดยใช้ฐานข้อมูลของข้อมูลติดต่อ เช่น หมายเลขโทรศัพท์และอีเมล[25] พลเมืองอิสราเอลทุกคนต้องลงทะเบียนกับหนึ่งในองค์กรหลักประกันสุขภาพสี่องค์กรของประเทศ[29]

ใกล้เคียง

การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในฮ่องกง การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศอิหร่าน การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศสิงคโปร์ การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศเวียดนาม การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศอิสราเอล การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในดินแดนปาเลสไตน์ การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย

แหล่งที่มา

WikiPedia: การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศอิสราเอล http://www.montana.edu/news/20986/israeli-covid-19... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33499905 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33653708 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7835664 //doi.org/10.1038%2Fd41586-021-00316-4 //doi.org/10.1056%2FNEJMc2101951 //doi.org/10.1136%2Fbmj.n597 //doi.org/10.1186%2Fs13584-021-00440-6 //doi.org/10.1377%2Fhblog20210315.476220%2Ffull%2F //doi.org/10.15585%2Fmmwr.mm7009e3